ป้ายกำกับ: เรียนหมากล้อม

การยอมแพ้เป็นการรู้จักตนเอง
การยอมแพ้เป็นการรู้จักตนเอง

เกมหมากล้อมเป็นเกมที่ฝึกแพ้และการยอมแพ้ในโลกหมากล้อมสามารถทำได้และควรทำ หากประเมินแล้วว่าไม่อาจจะชนะได้อย่างแน่นอน


การยอมแพ้ในหมากล้อมคือการเรียนรู้และรู้จักประมาณตนเอง พินิจพิเคราะห์ในความสามารถของตนและเป็นการแสดงออกถึงความเคารพในฝีมือของฝ่ายตรงข้ามว่าเหนือชั้นกว่าจริงๆในหมากกระดานนี้

การแพ้ทำให้เราได้เรียนรู้และแก้ไขตนเองซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เราสามารถพัฒนาฝีมือหมากล้อมได้เป็นอย่างดี

หมากล้อม หนึ่งในเกมกระดานแห่งประวัติศาสตร์
หมากล้อม หนึ่งในเกมกระดานแห่งประวัติศาสตร์

หมากล้อม หรืออีกชื่อหนึ่งที่คนไทยจะคุ้นชินว่า “โกะ” คือหนึ่งในเกมกระดานที่เก่าแก่และมีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน

หมากล้อม คือเกมแห่งยุทธศิลป์ที่คนสองคนได้มาประชันหมากกัน โดยแบ่งเป็นหมากดำและหมากขาว ใช้กระบวนการคิดและจัดรูปแบบของหมากเข้าห่ำหันกันชิงพื้นที่เพื่อหาผู้ที่มีแต้มเยอะที่สุดในตอนจบกระดาน ประดุจดั่งเราเป็นแม่ทัพบัญชาการรบ

หมากล้อม ถูกจัดให้เป็น 1 ใน 4 สุดยอดศิลปะแห่งแผ่นดินจีนที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกและมีการแข่งขันจัดอันดับจนเกิดเป็นนักหมากล้อมมืออาชีพมากมาย จัดเป็นกีฬาที่ใช้แข่งขันกันในเวทีโลก

หมากล้อมพัฒนาสมองสองซีก
หมากล้อมพัฒนาสมองสองซีก

หมากล้อมกับการพัฒนาสมองสองซีก หมากล้อมเป็นเกมที่รวมทั้งศาสตร์และศิลป์เข้าด้วยกันจุดมุ่งหมายของหมากล้อมคือพื้นที่ นั่นก็คือผู้เล่นต้องคำนวณแต้มเพื่อให้มีพื้นที่มากกว่าคู่แข่ง และคิดวางแผนกลยุทธ์การเดินหมากแต่ละตาไว้ล่วงหน้าให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ ใช้หลักเหตุและผล อันเป็นการใช้สมองซีกซ้ายแล้วหมากล้อมยังให้อิสระกับผู้เล่นในการเดินอย่างเต็มที่ ต้องใช้จินตนาการในการสร้างรูปแบบหมาก วางแผนให้หมากแต่ละส่วนทำหน้าที่ได้อย่างสอดคล้องกันทั่วทั้งกระดาน อันจะต้องใช้สมองซีกขวาด้วย

(เพิ่มเติม…)
ฝึกแพ้ก่อนรู้จักชัยชนะ

หมากล้อมสอนให้ยอมรับความพ่ายแพ้ 

บทความจาก ไทยโพสต์  2 ตุลาคม 2553

มีโอกาสเหินฟ้าตามอาศรมสยาม-จีนวิทยา บมจ. ซีพี ออลล์ ไปดูการแข่งขันหมากล้อมจีนโลก ชิงถ้วยเหยียนหวงเปย์ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2553 ระหว่างวันที่ 19-22 กันยายน (ปีอะไร?) ณ เมืองเซ่าซิง มณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน งานนี้มีทั้งคนไทยและชาวจีนจากทั่วโลกกว่า 80 คน เข้าร่วมแข่งขัน ซึ่งเป็นที่น่ายินดีว่าการแข่งขันในครั้งนี้คนไทยติดอันดับที่ 8  เห็นภาพตรงหน้าที่ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคนหน้าตาเคร่งเครียด ตาจดจ้องอยู่ที่หมากหินสีขาวดำในกระดาน นานๆ ทีจะยกถ้วยชาขึ้นมาจิบแก้คอแห้ง ทำให้อดสงวัยไม่ได้ว่าหมากเกมนี้มันสนุกตรไหน ถึงทำให้ผู้คนในอีกหลายประเทศนิยมเล่น ไม่ว่าจะเป็นประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ฯลฯ

โยนคำถามกลับไปให้โต้โผใหญ่ของงานอย่าง นายก่อศักดิ์ ชัยรัศมีศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานสมาคมหมากล้อมจีนโลก นายกสมาคมหมากล้อมแห่งประเทศไทย และอาศรมสยาม-จีนวิทยา ช่วยไขข้อข้องใจให้ได้ความว่า

ความสนุกของกีฬาหมากกระดานชนิดนี้อยู่ที่การได้ฝึกสมอง ฝึกสมาธิ และเป็นเกมที่ต้องใช้จินตนาการมองภาพรวมการวางหมากทั้งกระดาน ไม่ใช่มองแค่หมากที่เดินเท่านั้น ดังนั้น ผู้เล่นจึงต้องเพ่งสมาธิไปที่หมากทั้งกระดาน ที่สำคัญหัวใจหลักของเกมนี้คือ ชัยชนะไม่ได้มาจากความพ่ายแพ้ของผู้อื่น เพราะหมากล้อมสอนให้ยอมรับความพ่ายแพ้ และความพ่ายแพ้สอนให้รู้จักพัฒนาตนเอง อีกทั้งยังช่วยฝึกฝนในด้านจิตใจได้เป็นอย่างดี เท่ากับว่าหมากล้อมเป็นกีฬาสร้างมิตรภาพที่ดี โดยผู้เล่นจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

(เพิ่มเติม…)
ผลงาน น้องMax
u1

นาย วิชญ์ฤทธิ์ คฤหวาณิช หรือ น้องแม็ค เป็นนักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งชื่นชอบในกีฬาหมากล้อมและเล่นมาตั้งแต่ยังเด็ก

อาจารย์ติ๊ผู้สอนน้องเแม็คมาตั้งแต่เด็ก เปิดเผยให้ทราบว่า
“แม็คเริ่มเล่นหมากล้อมตอน ป.3 ตอนนั้นในชั้นมีคนเล่นเพียงแค่4คน แม็คเป็นเด็กที่ชอบหมากล้อมมาก แต่เล่นแพ้ตลอดไม่ชนะเลย
ด้วยความที่อยากเก่งเมื่อมีงานแข่งแม็คก็ลงแข่งทุกงาน แม้ผลงานแต่ละครั้งในช่วงแรกจะไม่ค่อยดี แต่ด้วยความที่ชอบและตั้งใจเวลามาเรียน ทำให้ฝีมือน้องแม็คค่อยๆพัฒนาไม่เร็วมากแต่มั่นคง”

ซึ่งหลักสำคัญของความเก่งที่น้องแม็คนำไปต่อยอดได้นั้นคือ เรื่องรูปร่างหมากและแนวคิดที่อาจารย์ติ๊ได้เรียนมาถึง2ปีเต็มจากประเทศจีนสำนัก Neiweiping(เนี่ยเว่ยผิง) สำนักที่สอนนักหมากล้อมมือ1ของโลก kejie(เคอเจี๋ย)

(เพิ่มเติม…)
Call Now Button